ยินดีต้อนรับทุกท่านนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่5



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 2 มีนาคม   พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.




วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมก่อนเข้าบทเรียนมาให้นักศึกษาได้เล่น เพื่อการผ่อนคลาย จากนั้น ก้อเข้าสู่เนื้อหาที่จะเรียนในวันนี้





การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กเศษ
1.ทักษะทางสังคม 
        การขาดทักษะทางสักคมของเด็กพิเศษไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อและแม่ และสภาพแวดล้อมก็ไม่ได้มีผลกับตัวเด็กเลย แต่ต้องปรับที่ตัวเด็ก

กิจกรรมการเล่น
        การเลยเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กพิเศษ เด็กพิเศษจะเรียนรู้ทักษะการเล่นจากเพื่อนข้างๆในช่วงแรกๆเด็กพิเศษจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน เช่น ถ้าเพื่อนนั่งขวางทางที่เขาจะเดิน เด็กพิเศษก็จะเดินชนหรือจะต้องกำจัดออกจากตรงทางที่เขาจะเดิน แต่ครูก็อย่าไปดุเด็กถ้าเด็กทำแบบนี้

ยุทธศาสตร์การสอน
       เด็กพิเศษจะไม่รู้วิธีการเล่นของเล่นไม่รู้ว่ามันเล่นอย่างไร เขาจึงเรียนรู้วิธีการเล่นจากเด็กปกติที่อยู่ข้างๆ ครูจะต้องสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบบันทึกทุกช๊อตที่เด็กทำ ครูจะต้องมีความรู้ในการเขียนแผนIEP และจะต้องรู้พฤติกรรมเด็กอย่างถ่องแท้

การกระตุ้นการเรียนแบบและการเอาอย่าง
       วางแผนการเล่นของเด็กไว้หลายๆอย่าง และคำนึงถึงเด็กทุกๆคน การแบ่งกลุ่มในการเล่นของเด็กเป็นกลุ่มเล็กๆ2-4คน 

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
       ครูไม่ควรที่จะหันหลังให้กับเด็กทุกครั้งและจะต้องเฝ้ามองเด็กอย่างสนใจ ไม่ชมเด็กหรือสนใจเด็กมากเกินไป เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่นของเด็ก อุปกรณ์จะต้องให้ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนเด็ก 

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
       ครูต้องพูดชักชวนเด็กให้ไปเล่นกับเพื่อน หรือการบอกบทเด็ก เช่น หนูวาดอะไร วาดรถใช่ไหม ไหนลองพูดตามครูสิค่ะ ให้เด็กพูดตาม
       *ในขณะที่เด็กๆปกติเล่นทรายกันอยู่ แล้วเด็กพิเศษได้แต่ยืนดู จะทำอย่างไรให้เด็กพิเศษได้เข้าไปเล่นด้วย เช่น ครูก็ให้เด็กพิเศษถือของเล่นไปเยอะแล้วก็พาเด็กเดินเข้าไปหากลุ่มเพื่อนที่นั่งเล่นกันอยู่ครูก็มีหน้าที่พูดโชว์ของที่เด็กพิเศษถือมา ว่านี่เพือ่นถือของเล่นมาเยอะแยะมากเลยให้เพื่อนเล่นด้วยคนนะและพูดให้ดูน่าสนใจ และครูไม่ควรที่จะปล่อยเด็กเล่นกันตามลำพังหรือช่วยประครองมือเด็ก

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
       เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ เด็กทุกคนมีสิทธิดท่าเทียมกันและครูจะต้องไม่เอาข้อบกพร่องของเด็กไปเป็นเครื่องต่อรองกับเด็ก ก่อนที่จะเอาของเล่นมาให้เด็กครูจะต้องสร้างกติกากับเด็กทุกครั้ง การเล่นของเด็กอาจจะสร้างเป็นเกมการเล่นก็ได้
       
จากนั้นหลังจากเรียนในเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำเป็นกิจกรรมบำบัดเด็ก




เป็นกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางอารมณ์และการฝึกสมาธิได้เป็นอย่างดีและได้ผลดีมากกับเด็กพิเศษ
คือเป็นการเปิดเพลงและให้เด็กจับคู่กันโดยแต่ละคนมาเลือกสีที่ชอบ คู่1สีจะต้องไม่เหมือนกันจากนั้นให้เด็กเลือกว่าใครจะเป็นคนลากเส้น และใครจะเป็นคนจุด คนที่ลากเส้นจะต้องฟังเสียงที่เปิดโดยลากเส้นให้ต่อเนื่องกันเส้นห้ามขาดลากไปตามจังหวะเพลง ส่วนคนที่จุดก็จุดในที่ที่เป็นวงกลม



จากนั้นให้เด็กๆได้จินตนาการว่าเด็กๆเห็นรูปอะไรในผลงานที่ทำนี้และให้วาดภาพตามจินตนาการที่เด็กได้เห็น






กิจกรรมร้องเพลง
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล.รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง  อ.ตฤณแจ่มถิน
เพลงดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรองผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแล่งหล้า บ่งเวลาว่ากลางวัน

เพลงดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน

เพลงดอกมะลิ
ดอกมะลิกลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ยาก็ได้
ลอยในน้ำอบขนมหอมชื่นใจ

เพลงกุหลาบ
กุหลาบงามก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลงนกเขาขัน
ฟันสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู

เพลงรำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กินหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจจริงเอย




การนำไปใช้
  • สามารถนำกิจการบำบัดไปจัดกิจกรรมในการส่งเสริมหรือบำบัดเด็กได้เป็นอย่างดี
  • นำทักษะต่างๆในการชักชวนเด็กหรือการดูแลเด็กไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
  • และมีความรู้หรือทักษะในการเขียนแผนIEP
  • ส่งเสริมเด็กให้ถูกวิธีและช่วยส่งเสริมหรือดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด




การประเมิน

       ตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมและมีการจดบันทึกและร่วมตอบคำถามหรือช่วยเพื่อนทำกิจกรรมและก็สนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอนในวันนี้
       เพื่อน: ตั้งใจเรียนและร่วมกันตอบคำถามและมีส่วนร่วมในการทำกินกรรมมีความสามัคคีกันในหมู่คณะและเรียนด้วยกันอย่างสนุกสนานทำให้บรรยากาศในการเรียนดูน่าเรียนมากยิ่งขึ้น
       อาจารย์ : มีการนำกิจกรรมที่คลายเครียดมาให้นักศึกษาได้ลองเล่นกันและได้นำกิจกรรมการบำบัดเด็กในการใช้เสียงดนตรีมาให้ได้ลองทำกัน และมีการเตรีมแผนการสอนมาเป็นอย่างดี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น