ยินดีต้อนรับทุกท่านนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 มีนาคม   พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

วันนี้อาจารย์ก็ได้พาทำกิจกรรมผ่อนคลายสมองเช่นเคย และก็สอนในเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

3.ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
      
        เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
     
      การสร้างความอิสระ
เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง เพราะเขาจะได้เกิดความภาคภูมิใจว่าเขาทำได้และเด็กอยากทำงานตามความสามารถเด็กจะเรียนแบบพฤติกรรมหรือเรียนรู้จากคนข้างๆหรือเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่ เช่น การผูกเชือกรองเท้าเขาจะเรียนแบบจากพี่ที่โตกว่าแล้วเขาก็จะลองผูกเอง ซ้ำไปซ้ำมา เมื่อเขาผูกได้ในครั้งแรกเขาก็จะเกิดความภาคภูมิใจว่าเขาทำได้เขาก็จะทำแบบนี้ไปทั้งวัน


   ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
การที่เด็กได้ทำด้วยตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

    หัดให้เด็กทำเอง
ไม่ช่วยเหลือเด็กเกินความจำเป็น ต้องใจแข็งกับเด็ก หรืออย่าสงสารเด็กให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง ถามเด็กว่าเขาต้องการให้เราเข้าไปช่วยหรือเปล่า หรือเขาต้องการให้เราช่วยไหม ไม่ใช่ไปทำให้เด็กทุกอย่างเพียงเพราะว่า "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้"  และในกรณีที่เด็กทำช้าเพื่อนจะออกไปข้างนอก ก็บอกให้เด็กได้รอเพื่อนก่อนเพื่อที่จะให้เด็กได้ออกไปพร้อมกัน 

    จะช่วยเมื่อไหร่
เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย หลายครั้งที่เด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่เขาเรียนรู้ไปแล้ว ไม่ควรรำคาญเด็กขณะที่เด็กมาขอความช่วยเหลือ เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องช่วยในสิ่งที่เด็กต้องการให้ช่วยเท่านั้น

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง อายุ2-3ปี




ทักษะการช่วยเหลือตนเอง อายุ3-4ปี



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง อายุ4-5ปี



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง อายุ5-6ปี


  

  ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
ครูต้องย่อยงานให้เป็น เรียงลำดับตามขั้นตอนห้ามข้ามขั้น

    การเข้าส้วม

                   เข้าไปในห้องส้วม
                   ดึงกางเกงลงมา
                   ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
                   ปัสสาวะหรืออุจจาระ
                   ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
                   ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
                   กดชักโครกหรือตักน้ำราด
                   ดึงกางเกงขึ้น
                   ล้างมือ
                   เช็ดมือ
                   เดินออกจากห้องส้วม



*ถ้าครูให้เด็กเริ่มต้นทำเองจากขั้นตอนแรกเด็กได้รู้กระบวนการในการทำ แต่ถ้าทำขั้นตอนย้อนกลับคือครูจะทำให้ในขั้นตอนแรกและขั้นตอนสุดท้ายให้เด็กได้ทำเองเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจแต่ให้เด็กได้เรียนรู้ขั้นตอนด้วย


    การวางแผนทีละขั้น
แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด เมื่อเข้าไปหาเด็กครูควรเตรียมคำถามไป2แบบ เช่น





   สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กได้ทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จครั้งเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-เด็กพึ่งตนเองได้รู้สึกเป็นอิสระ

ต่อมาเป็นกิจกรรมที่ครูสามารถรู้ถึงตัวเด็กได้ว่าเด็กแต่ละคนเป็นคนอย่างไร คือให้กระดาษคนละ1แผ่นจากนั้นให้นำสีที่ตนเองชอบมาจุดไว้ตรงกลางซึ่งเปรียบเสมือนเป็นหัวใจตนเองวาดเป็นวงกลมตามทีตนเองต้องการ แล้วนำกรรไกรตัด



เมื่อทุกคนทำเสร็จหมดแล้วให้นำวงกลมของตนเองมาติดเป็นใบไม้ซึ่งอาจารย์ได้มีต้นไม้มาให้  แล้วให้ทุกคนมาติดเป็นต้นไม้ใหญ่1ต้น ในการทำงานก็ได้มีการวางแผนกันและได้ทักษะทางสังคม









เพลงประจำวันนี้
ผู้แต่งอ.ศรีนวล รัตนสุวรรณ
ผู้เรียบเรียง อ.ตฤณ แจ่มถิน

เพลงนกกระจิบ
นั่นนก บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่องลอยมา 6 7 8 9 10ตัว

เพลงเที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร้ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว

เพลงแม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ออกไข่ทุกวัน
1วันได้ไข่ 1ฟอง

เพลงลูกแมวสิบตัว
ลูกแมว 10ตัว ที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป1ตัว
ลูกแมว10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแมว 9 ตัว

เพลงลุงมาชาวนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็เห่า บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว
ลุงมาไถนา วัวร้อง มอ มอ
(ซ้ำ *)


    การนำไปใช้
-สามารถย่อยงานในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างเป็นขั้นตอน
-นำเทคนิคต่างๆในการแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันควัน
-ใช้คำถามกับเด็กมากๆแต่ต้องดูสถานการณ์ด้วย
-สามารถจัดกิจกรรมที่ได้ทำไปให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เพราะจะส่งเสริมทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กการทำงานร่วมกับผู้อื่น การใช้ประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ให้เด็กได้คิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเองและฝึกให้เด็กมีสมาธิกล้าคิดกล้าทำ
-ให้เด็กได้เปิดโอกาสได้ช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด


การประเมิน

ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกในเนื้อหาที่สำคัญ เมื่อสงสัยก็จะถามหรือตอบคำถามอยู่เสมอ ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายและเสร็จทันเวลา ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนและมีการวางแผนในการทำงาน

เพื่อน  ตั้งในเรียน และตอบคำถามกันทุกคน มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ทำและมีความสนุกสนานช่วยกันคิดแก้ปัญหาและมีความสามัคคีกันดีมาก

อาจารย์  มีการเตรียมแผนการสอนมาเป็นอย่างดี มีกิจกรรมมาให้ได้ทำก่อนเข้าบทเรียนเพื่อคลายความเครียดได้ดีมีอุปกรณ์ ครบและพร้อมตลอดเวลา สอนเข้าในใจเนื้อหาและมีการยกสถานการณ์มาประกอบเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้นและจะได้จำได้




วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่6

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 มีนาคม   พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.


สรุปองค์ความรู้
     ในการเรียนการสอนในวันนี้เป็นการเรียนที่ดิฉันไม่ค่อยสนใจเพราะวันนี้อาจารย์ยกคาสตอนบ่ายมาเรียนด้วยกันจึงทำให้สภาพในห้องเรียนดูไม่สงบไม่น่าเรียน และจำนวนคนเยอะก็ทำให้อาจารย์บอกเด็กไม่ทั่วถึงจึงทำให้นักศึกษาบางคนไม่สนใจเรียนในห้องเรียน วันนี้ เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่าง ของเด็กพิเศษ ด้านทักษะภาษา ก่อนเรียนมีการดูวีดีโอของโรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิจากนั้นเรียนในเนืท้ายชั่วโมงให้ทำกิจกรรมบำบัดเด็กด้วยเสียงเพลง

VDO  ผลิบานผ่านมือครู  โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ
ทักษะภาษา



การวัดความสามารถทางภาษา
ต้องเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
ถามหาสิ่งต่างๆไหม
บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
การพูดตกหล่น
การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด
อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
ทักษะการรับรู้ภาษา  
การแสดงออกทางภาษา
การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
ให้เวลาเด็กได้พูดคอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
ใช้คำถามปลายเปิด

การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)
ครูต้องเข้าไปถามเด็ก
ต้องพูดซ้ำในสิ่งที่เด็กทำ




กิจกรรมในวันนี้
วาดรูปเป็นเส้นตรงตามเสียงเพลง โดยกิจกรรมนี้ส่งเสริมทักษะทางอารมณ์ ประสานสัมพันธ์มือกับตา ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กและฝึกให้เด็กมีสมาธิในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และเป็นกิจกรรมบำบัดเด็กออทิสติกได้ดีในการอยู่ร่วมกับสังคมการทำงานร่วมกับผู้นอื่น  ซึ่งกิจกรรมก็จะเป็นการจับคู่กัน 2 คน โดยทั้ง 2 จะต้องฟังเสียงเพลงจากนั้นให้ลากเส้นตรงไปเรื่อยๆจนกว่าเพลงจะหยุด จากนั้น ให้ระบายสีตรงที่มีเส้นปิดทุกช่อง


กิจกรรมบำบัด
การลากเส้น


ระบายสีตรงที่มีเส้นปิดทุกเส้น



นำผลงานออกมาโชว์






ประโยชน์ที่ได้รับ
  • สามารถเขียนแผนการสอนให้สอดคล้องหรือส่งเสริมกับพัฒนาการของเด็กได้
  • นำทักษะต่างๆในการเลี้ยงดูหรือการสอนเกี่ยวกับเด็กพิเศษ
  • ได้เรียนรู้การพัฒนาทางด้านภาษาของเด็ก
  • การที่จะจัดห้องเรียนสำหรับเด็กในการส่งเสริมทางด้านภาษาจะต้องมีตัวหนังสือติดไว้ในห้องเยอะๆมีมุมนิทาน หรือมุมต่างๆที่ส่งเสริมเด็ก
  • ต้องเข้าใจใบบริบทที่เด็กเป็นเช่น การพูดติดอ่างติดขัด ไม่ควรไปดุไปว่าเด็กหรือให้เด็กพูดใหม่ช้าๆชัดๆ


การประเมิน
ตนเอง   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย และจดบันทึกส่วนที่สำคัญ ตั้งใจร้องเพลง แต่ในขณะที่อาจารย์สอนบางครั้งอาจจะตั้งใจเรียนแต่ส่วนใหญ่จะคุยกับเพื่อนข้างๆ เพราะรู้สึกว่าเวลาอาจารย์สอนอาจารย์จะสนใจหรือมองแต่เพื่อนข้างหน้า จึงทำให้วันนี้เรียนไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่
เพื่อน ในวันนี้มีการเรียนรวม 2 เซกอาจจะทำให้วุ่นวายและคุยกันเสียงดังมากบางตนอาจจะตั้งใจแต่บางคนก็คุยกันเสียงดัง เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย  
ครูผู้สอน  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ร่าเริง  แจ่มใส  อธิบายในเนื้อหาที่เข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน นำVDOมาให้ดู เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจในบทเรียนมากขึ้น หรือเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนแผนการสอน





วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่5



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 2 มีนาคม   พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.




วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมก่อนเข้าบทเรียนมาให้นักศึกษาได้เล่น เพื่อการผ่อนคลาย จากนั้น ก้อเข้าสู่เนื้อหาที่จะเรียนในวันนี้





การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กเศษ
1.ทักษะทางสังคม 
        การขาดทักษะทางสักคมของเด็กพิเศษไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อและแม่ และสภาพแวดล้อมก็ไม่ได้มีผลกับตัวเด็กเลย แต่ต้องปรับที่ตัวเด็ก

กิจกรรมการเล่น
        การเลยเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็กพิเศษ เด็กพิเศษจะเรียนรู้ทักษะการเล่นจากเพื่อนข้างๆในช่วงแรกๆเด็กพิเศษจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน เช่น ถ้าเพื่อนนั่งขวางทางที่เขาจะเดิน เด็กพิเศษก็จะเดินชนหรือจะต้องกำจัดออกจากตรงทางที่เขาจะเดิน แต่ครูก็อย่าไปดุเด็กถ้าเด็กทำแบบนี้

ยุทธศาสตร์การสอน
       เด็กพิเศษจะไม่รู้วิธีการเล่นของเล่นไม่รู้ว่ามันเล่นอย่างไร เขาจึงเรียนรู้วิธีการเล่นจากเด็กปกติที่อยู่ข้างๆ ครูจะต้องสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบบันทึกทุกช๊อตที่เด็กทำ ครูจะต้องมีความรู้ในการเขียนแผนIEP และจะต้องรู้พฤติกรรมเด็กอย่างถ่องแท้

การกระตุ้นการเรียนแบบและการเอาอย่าง
       วางแผนการเล่นของเด็กไว้หลายๆอย่าง และคำนึงถึงเด็กทุกๆคน การแบ่งกลุ่มในการเล่นของเด็กเป็นกลุ่มเล็กๆ2-4คน 

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
       ครูไม่ควรที่จะหันหลังให้กับเด็กทุกครั้งและจะต้องเฝ้ามองเด็กอย่างสนใจ ไม่ชมเด็กหรือสนใจเด็กมากเกินไป เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่นของเด็ก อุปกรณ์จะต้องให้ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนเด็ก 

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
       ครูต้องพูดชักชวนเด็กให้ไปเล่นกับเพื่อน หรือการบอกบทเด็ก เช่น หนูวาดอะไร วาดรถใช่ไหม ไหนลองพูดตามครูสิค่ะ ให้เด็กพูดตาม
       *ในขณะที่เด็กๆปกติเล่นทรายกันอยู่ แล้วเด็กพิเศษได้แต่ยืนดู จะทำอย่างไรให้เด็กพิเศษได้เข้าไปเล่นด้วย เช่น ครูก็ให้เด็กพิเศษถือของเล่นไปเยอะแล้วก็พาเด็กเดินเข้าไปหากลุ่มเพื่อนที่นั่งเล่นกันอยู่ครูก็มีหน้าที่พูดโชว์ของที่เด็กพิเศษถือมา ว่านี่เพือ่นถือของเล่นมาเยอะแยะมากเลยให้เพื่อนเล่นด้วยคนนะและพูดให้ดูน่าสนใจ และครูไม่ควรที่จะปล่อยเด็กเล่นกันตามลำพังหรือช่วยประครองมือเด็ก

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
       เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ เด็กทุกคนมีสิทธิดท่าเทียมกันและครูจะต้องไม่เอาข้อบกพร่องของเด็กไปเป็นเครื่องต่อรองกับเด็ก ก่อนที่จะเอาของเล่นมาให้เด็กครูจะต้องสร้างกติกากับเด็กทุกครั้ง การเล่นของเด็กอาจจะสร้างเป็นเกมการเล่นก็ได้
       
จากนั้นหลังจากเรียนในเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำเป็นกิจกรรมบำบัดเด็ก




เป็นกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางอารมณ์และการฝึกสมาธิได้เป็นอย่างดีและได้ผลดีมากกับเด็กพิเศษ
คือเป็นการเปิดเพลงและให้เด็กจับคู่กันโดยแต่ละคนมาเลือกสีที่ชอบ คู่1สีจะต้องไม่เหมือนกันจากนั้นให้เด็กเลือกว่าใครจะเป็นคนลากเส้น และใครจะเป็นคนจุด คนที่ลากเส้นจะต้องฟังเสียงที่เปิดโดยลากเส้นให้ต่อเนื่องกันเส้นห้ามขาดลากไปตามจังหวะเพลง ส่วนคนที่จุดก็จุดในที่ที่เป็นวงกลม



จากนั้นให้เด็กๆได้จินตนาการว่าเด็กๆเห็นรูปอะไรในผลงานที่ทำนี้และให้วาดภาพตามจินตนาการที่เด็กได้เห็น






กิจกรรมร้องเพลง
ผู้แต่ง  อ.ศรีนวล.รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง  อ.ตฤณแจ่มถิน
เพลงดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรองผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแล่งหล้า บ่งเวลาว่ากลางวัน

เพลงดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน

เพลงดอกมะลิ
ดอกมะลิกลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ยาก็ได้
ลอยในน้ำอบขนมหอมชื่นใจ

เพลงกุหลาบ
กุหลาบงามก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน

เพลงนกเขาขัน
ฟันสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู

เพลงรำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กินหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจจริงเอย




การนำไปใช้
  • สามารถนำกิจการบำบัดไปจัดกิจกรรมในการส่งเสริมหรือบำบัดเด็กได้เป็นอย่างดี
  • นำทักษะต่างๆในการชักชวนเด็กหรือการดูแลเด็กไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
  • และมีความรู้หรือทักษะในการเขียนแผนIEP
  • ส่งเสริมเด็กให้ถูกวิธีและช่วยส่งเสริมหรือดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด




การประเมิน

       ตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมและมีการจดบันทึกและร่วมตอบคำถามหรือช่วยเพื่อนทำกิจกรรมและก็สนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์ได้นำมาสอนในวันนี้
       เพื่อน: ตั้งใจเรียนและร่วมกันตอบคำถามและมีส่วนร่วมในการทำกินกรรมมีความสามัคคีกันในหมู่คณะและเรียนด้วยกันอย่างสนุกสนานทำให้บรรยากาศในการเรียนดูน่าเรียนมากยิ่งขึ้น
       อาจารย์ : มีการนำกิจกรรมที่คลายเครียดมาให้นักศึกษาได้ลองเล่นกันและได้นำกิจกรรมการบำบัดเด็กในการใช้เสียงดนตรีมาให้ได้ลองทำกัน และมีการเตรีมแผนการสอนมาเป็นอย่างดี