ยินดีต้อนรับทุกท่านนะคะ

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 .



วาดภาพเหมือนจริง และเขียนคำบรรยายจากที่ได้เห็นภาพว่าเห็นอะไรบ้าง


บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
 
ครูไม่ควรวินิจฉัย
                    การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
                    จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
 
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
                    เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
                    ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
                    เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
 
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
                    พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
                    พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
                    ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
                    ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
                    ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
 
ครูทำอะไรบ้าง
                    ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
                    ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
                    สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
                    จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
 
สังเกตอย่างมีระบบ
                    ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
                    ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
                    ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
ครูมองเห็นเด็กในภาพรวม ทั้งด้านดีด้านไม่ดี และทำได้หรือทำไม่ได้ ครูเป็นคนเดียวที่สามารถสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบได้
 
การตรวจสอบ
                    จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
                    เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
                    บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
 
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
                    ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
                    ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
                    พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
เลือกลำดับความสำคัญของเด็กที่ควรจะแก้ไขอันไหนต้องรีบทำก่อนหลังหรือมองข้ามบางเรื่องไป จัดเลียงลำดับให้เป็น

การบันทึกการสังเกต
                    การนับอย่างง่ายๆ
                    การบันทึกต่อเนื่อง
                    การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

การนับอย่างง่ายๆ
                    นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
                    กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
                    ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

การบันทึกต่อเนื่อง
                    ให้รายละเอียดได้มาก
                    เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
                    โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
ครูจะได้ข้อมูลละเอียดมากที่สุด เป็นการบันทึกแบบบรรยาย ครูจะรู้พฤตจิกรรมของเด็กได้ดีที่สุด

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
                    บันทึกลงบัตรเล็กๆ
                    เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
อย่าเขียนเยอะ เอาพฤติกรรมที่เด็ดๆเท่านั้น


การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
                    ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
                    พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
                    ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
                    พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
ครูควรไตร่ตรองให้ดีที่สุดก่อนพูด




การนำไปประยุกต์ใช้
               นำไปปฏิบัติและทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด โดยที่ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
               นำเทคนิคต่างๆไปปรับใช้ และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญให้ได้
               นำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้อย่างมีความสุข



การประเมิน
ตนเอง   ตั้งใจเรียนและจดบันทึกทุกครั้ง แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ
เพื่อน     ตั้งใจทำผลงานออกมาเป็นอย่างดี และมีการตอบคำถาม จดบันทึกส่วนที่สำคัญ
อาจารย์   ได้เตรียมแนวการสอนมาเป็นอย่างดี และมีอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมมาให้นักศึกษาที่เพียงพอ
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น