ยินดีต้อนรับทุกท่านนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10  กุมภาพันธ์   พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.










วาดภาพก่อนเข้าบทเรียน 
ถ้าเปรียบเด็กเหสมือนมือที่เราวาด คือ เราควรจะบันทึกพฤติกรรมเด็ก อย่าจำมาบันทึก เพราะเราจะไม่สามารถจำพฤติกรรมต่างๆที่เด็กเขแสดงออกมา และไม่ควรแต่งเติมหรือแต้มสีสันในพฤติกรรมของเด็กในการบันทึกพฤติกรรมต่างๆ เห็นพฤติกรรมไหนแปลกๆให้รีบจดบันทึกเลย เจาะเพ้งเลงในเด็กที่เราจะสังเกต เห็นปุ๊บ บันทึกปั๊บ

การสอนเด็กพิเศษ
ทักษะของครูและทัศนคติ
  • พยายามมองข้ามและต้องมองเด็กแต่ละคนให้เท่าเทียมกัน และมองเด็กในภาพรวม และครูจะต้องจำชื่อจริง ชื่อเล่นของเด็กได้ทุกคน

การเพิ่มเติม
  • อบรมระยะสั้น หรือสัมมนา  
  • สื่อต่างๆ เพราะทุกวันนี้สื่อสำหรับเด็กพิเศษมีหลากหลายที่จะให้ความรู้ต่างๆ เช่น ทางอินเทอร์เน็ต

การเข้าใจภาวะปกติ
  • ·       เด็กมักคล้านคลึกกันมากกว่าแตกต่าง
  • ·       ครูต้องเรียนรู้ และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก
  • ·       รู้จักเด็กแต่ละคน
  • ·       มองเด็กให้เป็นเด็ก ไม่ใช่มองเด็กต่างกัน

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
  1. ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคน  พยามยามพูดในด้านที่ดีของเด็ก  (ตบหัวแล้ว ลูบหลัง)
  2. ความพร้อมของเด็ก
  3. วุฒิภาวะ เด็กไม่ต่างกัน
  4.    แรงจูงใจ 
  5. โอกาส ต่างกันเด็กแต่ละคนมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันย่อมขึ้นอยู่กับโอกาสในแต่ละคน เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนสามารถทำได้กิจกรรมก็ไม่ควรที่ยากและง่ายจนเกินไป เด็กสามารถทำได้และส่งเสริมการเรียนรู้

การสอนโดยบังเอิญ
  •        เด็กเดินเข้ามาหาครูตอนที่เด็กว่าง ครูที่เด็กจะเข้ามาหาบ่อยๆ
  •        คือครูที่เด็กเขาเชื่อใจ ไว้วางใจ ครูสามารถเปิดใจกับเด็กได้

  •        ครูพร้อมรับเด็กเสมอ ไม่รำคาญเด็ก
  •       เวลาที่เด็กแต่ละคนเข้ามาหา ครูควรแบ่งเวลาให้กับเด็กคนอื่นด้วย อย่าใช้เวลานานเกินไป
  •        ทำให้เขารู้ว่าการที่เขาเข้ามาหาครูเป็นเรื่องสนุกสนาน

อุปกรณ์
  •        สื่อที่ไม่แบ่งแยกประเภท และวิธีการเล่นไม่ตายตัว
  •        เด็กพิเศษต้องมีบัดดี้ เช่นการเล่นแบบคู่ขนาน น้องพิเศษอาจจะเริ่มเรียนรู้จากคนที่เก่งกว่า
  •       เด็กพิเศษไม่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงตาราง

ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
  •        การแก้แผนการสอนให้เหมาะกับสถานการณ์
  •    ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
  •        ตั้งจุดประสงค์ไว้ให้มุ่งไปที่จุดประสงค์

การใช้สหวิทยาการ
  •        ใจกว้างต่อคำแนะนำ ฟังหูไว้หู
  •        สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
  •        เด็กเรียนรู้ไม่ได้เพราะความสามารถ
  •        เด็กเรียนรู้เพราะขาดโอกาส ข้อนี้สำคัญสำหรับการเป็นครูในการมองเด็ก

เทคนิคการใช้แรงเสริม แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
วิธีแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
  •        ตอบสนองด้วยวาจา
  •        การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
  •        พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
  •       สัมผัสทางกาย
  •        ให้ความช่วยเหลือร่วมกิจกรรมกับเด็ก
  •        ถ้าเด็กพิเศษกำลังทำงานอยู่อย่าเข้าไปถามเด็กเพราะเด็กจะเปลี่ยนความคิด

หลักการให้แรงเสริม
  •       คำชมต้องชมเฉพาะเรื่องที่เด็กทำได้ตามวัตถุประสงค์
  •        ครูต้องให้แรงเสริมเด็กทันที
  •        ครูต้องมองข้ามพฤติกรรมของเด็กในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

การแนะนำหรือบอกบท
  •    ย่อยงาน  ใช้ได้ดีมากกับเด็กพิเศษ

การกำหนดเวลา
  •  จำนวนและความถี่ในการให้แรงเสริม อย่ามากจนเกินไป ควรจะมีความเหมาะสม
  • ความต่อเนื่อง
  •   สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือ ย้อนมาข้างหลัง คือ ก้าวไปข้างหน้าเริ่มขั้นตอนแรกให้เด็กทำ ย้อนมาข้างหลัง ย้อนจากขั้นตอนสุดท้ายมา หรือให้เด็กทำเองในขั้นตอนสุดท้าย

การลดหรือหยุดแรงเสริม
  •           ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
  •           ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
  •     เ    อาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก

ความคงเส้นคงวา



เพลง
ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียง อ. ตฤณ  แจ่มถิน
เพลงฝึกกายบริหาร
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายแข็งแรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
เพลงผลไม้
ส้มโอ แตงโม แตงไทย
ลิ้นจี่ ลำไย องุ่น พุทรา
เงาะ ฝรั่ง มังคุด
กล้วย ละมุด น้อยหน่า
ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์
เพลงกินผัก
กินผักกันเถอะเรา
บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกาว
คะน้า กว้างตุ้ง ผักบุ้ง โหระพา
มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี
เพลงดอกไม้
ดอกไม้ต่างพันธุ์ สวยงามสดสี
เหลือง แดง ม่วงมี แสด ขาว ชมพู
เพลงจ้ำจี้ดอกไม้
จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี




การนำไปใช้
  • ·       สามารถนำความรู้ที่ได้นำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนเด็กในอนาคตได้
  • ·       ฝึกความอดทนในการดูแลเด็กและการให้แรงเสริมกับเด็ก
  • ·       ควรปรับทัศนคติในการมองเด็กในภาพรวม
  • ·       หาความรู้เพิ่มเติม หรือสอบถามผู้เชี่ยวชาญ เมื่อพบปัญหากับเด็ก
  • ·       จัดหากิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก
  • ·       นำเพลงต่างๆมาปรับใช้หรือจัดกิจกรรมต่างๆให้กับเด็กได้





การประเมิน
  • ·       ตนเอง   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และมีความรับผิดชอบ มีการจดบันทึกระหว่างเรียนและตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมทำกิจกรรมีการตอบคำถาม
  • ·       เพื่อน    ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกระหว่างเรียน ร่วมทำกิจกรรมและตอบคำถามร่วมกัน ตั้งใจฟังอาจารย์ทุกครั้ง
  • ·       อาจารย์   มีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี มีการนำเอากิจกรรมวาดภาพก่อนเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ทำให้นักศึกษาไม่เครียดกับเนื้อหาที่จะเรียนและ มีการผ่อนคลายความเครียดด้วยการร้องเพลง






วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 .



วาดภาพเหมือนจริง และเขียนคำบรรยายจากที่ได้เห็นภาพว่าเห็นอะไรบ้าง


บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
 
ครูไม่ควรวินิจฉัย
                    การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
                    จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
 
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
                    เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
                    ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
                    เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
 
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
                    พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
                    พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
                    ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
                    ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
                    ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
 
ครูทำอะไรบ้าง
                    ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
                    ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
                    สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
                    จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
 
สังเกตอย่างมีระบบ
                    ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
                    ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
                    ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
ครูมองเห็นเด็กในภาพรวม ทั้งด้านดีด้านไม่ดี และทำได้หรือทำไม่ได้ ครูเป็นคนเดียวที่สามารถสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบได้
 
การตรวจสอบ
                    จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
                    เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
                    บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
 
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
                    ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
                    ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
                    พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
เลือกลำดับความสำคัญของเด็กที่ควรจะแก้ไขอันไหนต้องรีบทำก่อนหลังหรือมองข้ามบางเรื่องไป จัดเลียงลำดับให้เป็น

การบันทึกการสังเกต
                    การนับอย่างง่ายๆ
                    การบันทึกต่อเนื่อง
                    การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

การนับอย่างง่ายๆ
                    นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
                    กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
                    ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

การบันทึกต่อเนื่อง
                    ให้รายละเอียดได้มาก
                    เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
                    โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
ครูจะได้ข้อมูลละเอียดมากที่สุด เป็นการบันทึกแบบบรรยาย ครูจะรู้พฤตจิกรรมของเด็กได้ดีที่สุด

การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
                    บันทึกลงบัตรเล็กๆ
                    เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
อย่าเขียนเยอะ เอาพฤติกรรมที่เด็ดๆเท่านั้น


การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
                    ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
                    พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ

การตัดสินใจ
                    ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
                    พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
ครูควรไตร่ตรองให้ดีที่สุดก่อนพูด




การนำไปประยุกต์ใช้
               นำไปปฏิบัติและทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด โดยที่ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
               นำเทคนิคต่างๆไปปรับใช้ และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญให้ได้
               นำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้อย่างมีความสุข



การประเมิน
ตนเอง   ตั้งใจเรียนและจดบันทึกทุกครั้ง แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ
เพื่อน     ตั้งใจทำผลงานออกมาเป็นอย่างดี และมีการตอบคำถาม จดบันทึกส่วนที่สำคัญ
อาจารย์   ได้เตรียมแนวการสอนมาเป็นอย่างดี และมีอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมมาให้นักศึกษาที่เพียงพอ