ยินดีต้อนรับทุกท่านนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 30 เมษายน   พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
วันนี้เป็นการสอบร้องเพลงทั้งหมดที่เรียนมาและเป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายในเทอมนี้

ความรู้สึกในวันนี้ 
คิดว่าตัวเองน่าจะทำได้ดีกว่านี้เพราะมีการเตรียมความพร้อมมาเยอะมากและหลายวัน พอมาถึงวันสอบตอนแรกก็ไม่ตื่นเต้น พอตนที่ 1 ร้องเพลงจบไป อาจารย์จับฉลาก ตัวเองก็นั่งพูดกับเพื่อนว่า เป็นเลขที่ของตัวเองแน่ๆ และก็เป็นจริงๆ พออาจารย์บอกจับได้เลขที่ 28 เท่านั้นแหละ ขณะเดินปนไปกับความตื่นเต้น แต่คิดว่าตัวเองน่าจะทำได้ดีกว่านี้ ทั้งๆที่จำเพลงนี้มาอย่างแม่นแต่พอร้องจริงๆ ก็ลืมเนื้อทิ้งไว้ที่หน้าห้องทั้งหมดเลย แต่พอร้องจบ รู้สึกว่าดีใจมากและโล่งมากที่ได้ร้องมันออกไป แต่คิดว่าตนเองทำได้ดีที่สุดแล้ว และก็จะนำเพลงต่างๆที่อาจารย์ได้สอนมาไปใช้ให้เกิดประโยนช์กับตัวเด็กให้ได้มากที่สุด ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ได้นำเทคนิคต่างๆในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กพิเศษ ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและใช้อย่างถูกวิธี และก็ชอบเทคนิคการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์มากเพราะ เรียนแบบสนุกสนานโดยที่ได้ความรู้และความเข้าใจ สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตได้จริงและเกิดประโยชน์มากที่สุด



การประเมิน

ตนเอง  ตั้งใจร้องเพลง และมีการเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี และจะนำเอาเพลงทั้งหมดนี้ไปใช้ในอนาคตให้เกิดประโยชน์ที่สูงสุดในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อน  มีการเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี และก็เป็นกำลังให้กับเพื่อนที่ยังร้องเพลงออกมาไม่ค่อยดี แต่สิ่งเหล่านี้สามารถส่งเสริมหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ถ้าได้รับการฝึกฝนอยู่เป็นประจำและสม่ำเสมอ

อาจารย์  ชอบที่อาจารย์ได้เป็นตัวของตัวเองในการสอน และได้นำความรู้ต่างๆมาให้กับนักศึกษาอยู่เสมอ ช่วยพร่ำสอนให้นักศึกษาเป็นคนดี และมีระเบียบในตนเอง ให้นักศึกษาได้กล้าแสดงออก และมีความเชื่อมั่นในตนเอง หรืออีกมากมายที่อาจารย์ได้ แนะนำเพื่ออยากให้นักศึกษาได้เป็นคนดี และมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับการเป็นครูปฐมวัย  ขอบคุณค่ะ



บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 21 เมษายน   พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล

(Individualized Education Program)
แผน IEP
-                   แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-                   เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-                   ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-                   โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
* ใช้ 2 เทอม เขียนเสร็จแล้วต้องมีการประชุมผู้ปกครอง  ครูที่จะเขียนแผนจะต้องรู้เด็กคนนั้นอย่างละเอียด
การเขียนแผน IEP
-                   คัดแยกเด็กพิเศษ
-                   ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-                   ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-                   เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-                   แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
-                   ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-                   ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-                   การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-                   เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-                   ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-                   วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
-                   ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-                   ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-                   ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-                   ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
-                   เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-                   เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-                   ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-                   เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-                   ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-                   ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-                   ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-                   เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
-                   รายงานทางการแพทย์
-                   รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-                   บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
-                   ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง พ่อแม่ ครูพิเศษ ผู้อำนวยการ ครูสอนเสริม
            กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-                   กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-                   จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-                   ระยะยาว
-                   ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
-                   กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
                   น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
                   น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
                   น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น 
-                   ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-                   เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
1.             จะสอนใคร
2.             พฤติกรรมอะไร
3.             เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
4.             พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
-                   ใคร                                                         อรุณ
-                   อะไร                                       กระโดดขาเดียวได้                             
-                   เมื่อไหร่ / ที่ไหน                  กิจกรรมกลางแจ้ง
-                   ดีขนาดไหน                         กระโดดได้ขาละ 5 ครั้งในเวลา 30 วินาที

-                   ใคร                                                         ธนภรณ์
-                   อะไร                                       นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย                      
-                   เมื่อไหร่ / ที่ไหน                  ระหว่างครูเล่านิทาน
-                   ดีขนาดไหน                         ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที
                                                                                เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
3. การใช้แผน
-                   เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-                   นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-                   แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-                   จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
-                   ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
-                   ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
-                   ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
-                   อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
-                   โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-                   ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**
การจัดทำ IEP


การนำไปใช้
-สามารถออกแบบการสอนเด็กได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริม
-ในการเขียนแผน IEP ผู้ที่เขียนหรือออกแบบ จะต้องรู้จักเด็กอย่างละเอียดและรู้จักเด็กดีที่สุดถึงจะเขียนแผนได้
-นำความรู้ที่ได้ในการเขียนแผน หรือเทคนิคต่างๆไปใช้ในการเขียนแผนให้กับเด็กพิเศษได้อย่างถูกต้อง
-การเขียนแผนจะต้อง ปรึกษา หรือมีการประชุมก่อนที่จะนำแผนนั้นมาใช้กับเด็กได้


การประเมิน
ตนเอง  ตั้งใจเรียนมีการจดบันทึกและนำความรู้ที่ได้ ในเรื่องของการเขียนแผน IEP นี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และจะนำเทคนิคต่างๆนี้ไปใช้กับเด็กให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
เพื่อน  ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึก และเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
อาจารย์  มีการสอนและอธิบายส่วนของเนื้อหาได้อย่างชัดเจน และมีกิจกรรมมาให้ได้ทำอยู่เสมอเพื่อนให้เด็กได้ตื่นตัวก่อนที่จะเรียนในส่วนของเนื้อหา



บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 7 เมษายน   พ.ศ. 2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

ความรู้ในวันนี้

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.             ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
-                   การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-                   มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-                   เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้” ให้เด็กได้รู้สึกว่าเขาทำได้
-                   พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-                   อยากสำรวจ อยากทดลอง
ให้เด็กพิเศษได้มีส่วนร่วมในสังคมมากที่สุด
ช่วงความสนใจ
-                   ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
-                   จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร (ฝึกให้เด็กมีสมาธิ ขอแค่ให้เขาฟังนิทานจบ 1 เรื่อง ขอแค่ 10 -15 นาทีก็เก่งแล้ว)
การเลียนแบบ
*ให้จับคู่บัดดี้กับเด็กพิเศษกับเด็กปกติ และเรียก 2 คน เช่นคู่บัดดี้กับเด็กปกติ ไปหยิบสี แล้วเด็กพิเศษก็จะเดินตามคู่บัดดี้ไป
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-                   เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-                   เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-                   คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว


การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
-                   การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
-                   ต่อบล็อก
-                   ศิลปะ ใช้กับเด็กพิเศษได้มาก
-                   มุมบ้าน
-                   ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
-                   ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-                   รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก


ความจำ
-                   จากการสนทนา
-                   เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-                   แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
-                   จำตัวละครในนิทาน
-                   จำชื่อครู เพื่อน
-                   เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

* อยากให้น้องเข้าใจกับคำว่าสูงและต่ำ เช่นถามว่า "พอหนูปีนขึ้นไปแล้วมันสูงไหมลูก แล้วหนูอยู่ตรงไหน (ข้างบน) แล้วถ้าหนูอยู่ติดพื้น เขาเรียกว่า หนูอยู่ข้างล่าง"
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-                   จัดกลุ่มเด็ก
-                   เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-                   ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-                   ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-                   ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย  สีต้องให้เขาใช้ของเดิมสีเดิมๆที่เด็กเขาคุ้นเคยและของที่เขาใช้อยู่เป็นประจำ
-                   บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-                   รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-                   มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-                   เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-                   พูดในทางที่ดี
-                   จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว

-                   ทำบทเรียนให้สนุก

การนำไปใช้
-สามารถนำไปใช้ต่อการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กพิเศษให้ถูกวิธีและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
-การเลือกอุปกรณ์หรือสื่อต่างๆ ก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับเด็กและพัฒนาการของเด็กด้วย
-เราสามารถส่งเสริมให้เด็กได้เข้าสังคมและมีส่วนร่วมในสังที่ดีได้
-การที่ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองและให้เด็ได้ลงมือปฏิบัติเองช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้เป็นอย่างดี


การประเมิน
ตนเอง  ตั้งใจเรียนและมีสมาธิในการเรียนมาก จดบันทึกในส่วนที่สำคัญๆและ เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์ได้สอนในวันนี้ เข้าเรียนตรงเวลา เป็นเด็กดีไม่พูดคุยกันในชั้นเรียน
เพื่อน  มีระเบียบวินัย เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ ตั้งใจเรียนและมีการจดบันทึกในการเรียน และส่งงานตรงต่อเวลาเสมอเมื่อได้รับมอบหมาย
อาจารย์  แต่งกายสุภาพ เหมาะสำหรับการเป็นครู ตั้งใจสอนนักศึกษาและมีการเตรียมแผนการสอนมาเป็นอย่างดี และสอนอธิบายในส่วนของเนื้อหาได้อย่างละเอียดและจัดเชนมากขึ้น